อบรมฮวงจุ้ยพื้นฐานตอนที่ 6

มังกรเขียว เสือขาว เต่าดำ หงส์แดง สี่สัตว์เทพ
โครงสร้างของฮวงจุ้ย

  ปราชญ์จีนได้วางสัญญลักษณ์ทั้งสี่ทิศไว้ภายใต้การคุ้มครองของสัตว์เทพ ตามตำนานพงศาวดารไคเภก อันได้แก่ เต่าดำ มังกรเขียว เสือขาว และหงส์แดง ดังคำกล่าวที่ว่า “ซ้ายมังกรเขียว ขวาเสือขาวครอง หงส์แดงนำหน้า เต่าดำสถิตยังเบื้องหลัง” ซึ่งแนวคิดความเชื่อดังกล่าว มีความสัมพันธ์อย่างใกล้ชิดระหว่างท้องฟ้า ขุนเขา แม่น้ำ ป่าไม้ ความเป็นไปของภูมิประเทศกับศาสตร์พยากรณ์และคติความเชื่อในลัทธิเต๋าของชาวจีนที่สืบทอดมานานนับพันปี
   
ชาวจีนโบราณ สังเกตและแบ่งท้องฟ้าออกเป็น 4 ส่วน คือ ตะวันออก ตก เหนือและใต้ เชิงสัญญลักษณ์ตามหมู่ดาวบนท้องฟ้า ที่จับกลุ่มทิศทางการเรียงตัวเทียบเข้ากับลักษณะของคน สัตว์หรือรูปลักษณ์ในตำนานการสร้างโลกของเทพผานกู่และหนี่วา  โดยให้ทิศตะวันออกแทนกลุ่มดาวมังกรเขียว จากตำนานการปรากฏขึ้นของจักรพรรดิเหลืองทางทิศตะวันออก ตะวันตกแทนกลุ่มดาวเสือขาว สัตว์ผู้พิทักษ์เทพหนี่วา ทิศใต้แทนกลุ่มดาวหงส์แดง สัตว์เทพผู้พิทักษ์แท่นบูชาของหนี่วา และทิศเหนือ แทนกลุ่มดาวเต่าดำ ซึ่งเป็นสัตว์เทพพิทักษ์ขุนเขาที่อยู่ของหนี่วา  และในท้องฟ้า แต่ละทิศครองดาว 7 ดวง (รวม 28 ดวง)
   
ภายในสุสานยุคจั้นกั๋ว (ราว 433 ปีก่อนคริสตศักราช) แห่งหนึ่งในมณฑลหูเป่ย ได้มีการขุดพบภาพวาดของหมู่ดาว 28 ดวงกับมังกรเขียวและเสือขาวบนฝาของภาชนะเคลือบใบหนึ่ง ซึ่งบอกเราว่า การกำหนดเรียกหมู่ดาวบนท้องฟ้า มีมาก่อนยุคชุนชิว และผู้ที่ค้นพบนำมาใช้ประโยชน์ในการขยายดินแดน คือ เจียงไท่กง ที่ปรึกษาคนแรกของประวัติศาสตร์จีน ผู้ร่วมก่อตั้งราชวงศ์โจว และผู้บัญญัติหลักวิชา ปากัว หรือ แปดทิศสัมพันธ์ หรือที่เรียกว่า ยันต์แปดทิศนั่นเอง

สัตว์เทพทั้งสี่  กลายเป็นตัวแทนของทิศทั้งสี่ นับแต่นั้น และผสมผสานกับศาสตร์แห่งธาตุทั้งห้า และภูมิพยากรณ์  รวมไปถึงกฏแห่งความสมดุลของธรรมชาติ หยินหยาง
       สัตว์เทพทั้งสี่และดวงดาวทั้ง 28 เป็นที่รู้จักในฐานะของ “เทพเจ้าผู้พิทักษ์” ตามตำนานของเทพหนี่วาและกลายเป็นโครงสร้างของ ฮวงจุ้ย ตลอดมา
     
เจียงไท่กง ได้นำสัตว์เทพทั้งสี่เป็นตัวแทนของฤดูกาล สัมพันธ์กับพฤติกรรม และเป็นเครื่องกำหนดพฤติกรรมของมนุษย์ด้วยเช่นกัน สัตว์เทพทั้งสี่ได้ปรากฏในศาสตร์วิทยาการของจีนหลากหลายสาขา อาทิ ดาราศาสตร์ ภูมิศาสตร์ และการทหาร ดังเช่น ในตำราพิชัยสงครามบทหนึ่ง ได้กล่าวถึงการกำหนดทิศทางเดินทัพไว้ว่า “การเคลื่อนทัพนั้น ซ้ายเป็นมังกรเขียว ขวาเสือขาว ทัพหน้าคือหงส์แดงและเต่าดำคุมหลัง บัญชาการจากเบื้องบน นำปฏิบัติสู่เบื้องล่าง” เนื่องจากผู้คนในสมัยนั้นต่างคุ้นเคยกับตำแหน่งของสัตว์เทพทั้งสี่เป็นอย่างดี ภายหลังจึงได้รับการประยุกต์ให้กลายเป็นสัญลักษณ์ของธงนำทัพไป
     
ต่อเมื่อศาสนาเต๋ารุ่งเรืองขึ้น มังกรเขียว เสือขาว หงส์แดงและเต่าดำ ในฐานะเทพเจ้าผู้คุ้มครองมนุษย์ ต่างมีความสำคัญขึ้น มีความสัมพันธ์กับชีวิตมนุษย์ยิ่งขึ้น ต่างมีชื่อเรียกเป็นมนุษย์ และต่อมาอีกไม่นาน เทพเสวียนอู่หรือเต่าดำ ก็โดดเด่นขึ้นในฐานะของ “เจินอู่” ปรมาจารย์เต๋าผู้สำเร็จมรรคผล ส่วนหงส์แดงเป็นเทพที่มีบทบาทแยกออกมาเป็นเอกเทศ ขณะที่มังกรเขียวและเสือขาวกลายเป็นเทพทวารบาลผู้รักษาประตูทางเข้าสู่มรรคา แห่งเต๋า
มังกรเขียว ประจำทิศตะวันออก สีเขียว ธาตุไม้ ฤดูใบไม้ผลิ
Feng Shui,Ajarn Ann,Sana-anong,ฮวงจุ้ย 5 ธาตุ
มังกรเขียว ดูเพิ่มเติม

ชาวจีนโบราณ ถือว่ามังกรเป็นสัญลักษณ์ของอำนาจกษัตริย์ โอรสสวรรค์ ผู้รวบรวมแผ่นดิน จัดเป็นสัตว์มงคลชนิดหนึ่ง นับตั้งแต่ยุคของจักรพรรดิเหลืองเป็นต้นมา มังกรก็กลายเป็นตัวแทนของผู้มีเชื้อสายจีนทั้งมวล โดยเฉพาะเมื่อถึงสมัยราชวงศ์ฮั่น ปรากฏภาพวาดและตำนานเกี่ยวกับหวงตี้หรือจักรพรรดิเหลืองที่ทรงมังกรเป็นพาหนะเหินบินสู่ฟ้า มังกรจึงกลายเป็นสัญลักษณ์ของจักรพรรดิผู้ยิ่งยงอีกด้วย
      
ตำนานกล่าวว่า ลักษณะมังกร มาจากสัญญลักษณ์ของชนเผ่าต่างๆ มังกรเขียว มีลำตัวเป็นงู มาจากความคดเคี้ยวของแม่น้ำฮวงโห ทั้งเป็นสายเลือดของชาวจีน หัวเป็นกิเลน หางเป็นปลา มีเครายาว มีเขา เท้าคล้ายกรงเล็บ รูปลักษณ์เป็นมังกรเหิน เปี่ยมด้วยพลังอำนาจ เนื่องจากประจำทิศตะวันออก ธาตุไม้ มีสีเขียว จึงเป็นมังกรเขียว 
ทิศทาง "ฮวงจุ้ย"  มังกรเขียวอำนาจพลังหยาง อยู่ด้านซ้ายมือของบ้าน (ทิศอะไรก็ได้) เป็นสัญญลักษณ์ของ ความมีอำนาจ การเคลื่อนไหว ความเป็นผู้นำ
เสือขาว ประจำทิศตะวันตก สีขาว ธาตุทอง ฤดูใบไม้ร่วง
Feng Shui,Ajarn Ann,Sana-anong,ฮวงจุ้ยบ้าน,ฮวงจุ้ยร้านค้า,ประตูโชคลาภ
เสือขาว สัตว์ประจำทิศตะวันตก ดูเพิ่มเติม
                                                   
เสือ เป็นเจ้าแห่งสัตว์ป่า เนื่องจากประจำทิศตะวันตก ธาตุทอง มีสีขาว จึงกลายเป็น เสือขาว เป็นตัวแทนของอำนาจบารมี ความเคารพยำเกรง สงคราม การทหาร เนื่องจากเสือเป็นนักล่า กินเนื้อ ตำแหน่งเสือ ควรเป็นเสือพี ที่ไม่ย้อนกลับมาทำร้ายบ้านตนเอง ดังนั้น เสือขาว จึงมีความหมายถึง ที่ปรึกษา การทำงานโดยใช้สมอง และยังหมายถึงความอดทนอีกด้วย สถานที่หรือชัยภูมิในสมัยโบราณหากมีชื่อของเสือขาว จึงมักมีนัยสำคัญทางทหาร นอกจากนี้ ยังใช้ในการตั้งชื่อหน่วยกำลังรบ และใช้เป็นตราสัญลักษณ์ในการบัญชาการเคลื่อนทัพ หรือสลักเป็นลวดลายคู่กับมังกรเขียวบนบานประตูทั้งสองข้าง เพื่อป้องกันสิ่งชั่วร้าย
ทิศทาง "ฮวงจุ้ย"  เสือขาวเป็นสัญญลักษณ์ของพลังหยิน เป็นเนินเขาเตี้ย กลม และอวบ กว่ามังกรเขียวที่อยู่ด้านขวามือของบ้าน ให้พลังงานกับบ้าน เป็นตัวแทนของเพศหญิง ตามผังทิศอยู่ประจำทิศตะวันตก 
                
                                          (ยังมีต่อ)